ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ อาณาจักร เครื่องเสียงรถยนต์ ครบวงจร

เราคือ ศูนย์รวม เครื่องเสียงรถยนต์ ทุกชนิด ทุกยี่ห้อ อุปกรณ์เสริมต่างๆ สินค้าทุกชนิดผ่านการตรวจสอบ และมีมาตราฐาน มีใบรับประกันทุกชิ้น มีทีมงานโดยช่างมืออาชีพ ผู้ชำนาญงาน มีประสบการณ์เกี่ยวกับการออกแบบและติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์โดยตรง 10 ปีเต็ม ร้านของเรามีบริการ เครื่องเสียงรถยนต์แบบครบชุด แยกชุด ตามที่ลูกค้าต้องการ มั่นใจได้เลยว่าคุ้มค่าอย่างแน่นอนตอนนี้เรามี Package ดีๆสำหรับท่านที่สนใจ มาแนะนำควรรีบๆเลยนะครับรับรองว่าถูกมากๆเครื่องเสีงรยนต์ทุกยี่ห้อ เป็นเครื่องเสีงรถยนต์ของแท้แน่นอน รับรองการใช้งานทั้งด้านเรื่องคุณภาพตัวสินค้าและคุณภาพด้านเสียง



เครื่องเสียงรถยนต์ลดราคาพิเศษ สั่งตรงจากโรงงานผู้ผลิต ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง จึงมั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับสินค้าราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป



เทคนิค เครื่องเสียงรถยนต์ (ตอนที่ 3)

เทคนิค เครื่องเสียงรถยนต์

การขยายกำลังเสียง (Power Amplifier)

  อุปกรณ์ที่อยู่ในองค์ประกอบการขยายกำลังเสียงนั้น ในปัจจุบัน มีให้เห็นอยู่ด้วยกัน 2 แบบหลักๆ ได้แก่

    ภาคขยายกำลังสูงในวิทยุซีดี

เป็นอุปกรณ์ย่อยที่ประกอบเอาไว้ในวิทยุซีดี มีรูปลักษณ์การทำงานที่เป็น”ไอซี”แบบหลายขาต่อ และมีการบริดจ์เพื่อเพิ่ม กำลังขยายให้สูงขึ้น ปัจจุบันสามารถทำกำลังวัตต์สูงสุดได้ถึง 50-60 วัตต์

     เพาเวอร์แอมป์รถยนต์

เป็นอุปกรณ์เพิ่มกำลังทางเสียงให้เพียงพอต่อความต้องการฟัง โดยจะมีมาตรวัดกำลังขับที่เป็น RMS จึงให้กำลังทางเสียงที่ครบถ้วน สมบูรณ์ระดับไฮไฟเดลิตี้ แตกต่างกับภาคขยายกำลังสูงที่มีในวิทยุซีดี เพราะมักใช้มาตรวัดกำลังขับเป็น Peak
     มีลักษณะการออกแบบแตกต่างกันไปเป็น 2 แชนแนล,4 แชนแนล, 5 แชนแนล, 5.1 แชนแนล, 6 แชนแนล, 7.1 แชนแนล,
8 แชนแนล ตามที่ผู้วางระบบต้องการเลือกใช้งาน ปัจจุบันมีการออกแบบเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ไบโพล่าร์ เป็นตัวขยาย และใช้หลอดสุญญากาศ และแบบผสมร่วมระหว่างหลอดสุญญากาศกับทรานซิสเตอร์ โดยมีการทำงานทั้งคลาส-เอ,
คลาส-เอบี, คลาส-ดี และคลาส-ที ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม
     ปัจจุบัน เพาเวอร์แอมป์หลายรุ่นหลายยี่ห้อ มีการติดตั้ง ภาคการจัดการเสียงต่างๆ มาให้ด้วย เช่น มีครอสโอเวอร์ในตัว, มีตัวปรับตัดคลื่นซับโซนิค, มีตัวปรับเฟสเสียง และมีวงจรป้องกัน ความเสียหายจนมีเสถียรภาพการทำงานที่เยี่ยมยอด

     ระดับการทำงานของเพาเวอร์แอมป์รถยนต์

คนทั่วไปมักคิดว่าเพาเวอร์แอมป์จะให้การทำงานเต็ม 100% เมื่อป้อนสัญญาณเข้าไป แต่ในความจริงเพาเวอร์แอมป์มีการสลาย
กำลัง (ในรูปแบบของความร้อน) และมีความผิดเพี้ยนในระดับ สัญญาณเสียงเป็น 2 ปัจจัยหลักที่มีผลกับประสิทธิภาพทำงานของ เพาเวอร์แอมป์
    การออกแบบวงจรเพาเวอร์แอมป์จึงต้องเลือกระดับชั้นในการ ทำงานของเพาเวอร์แอมป์ และแต่ละระดับชั้นนั้นก็มีคุณสมบัติที่เป็น ประสิทธิภาพเฉพาะตัว
    - Class A ถูกกำหนดไว้เพื่อคุณภาพของเสียงที่สูงสุด แต่ด้วย เหตุที่มันมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นทรานซิสเตอร์ทั้งหมด เพาเวอร์แอมป์ คลาส-เอจึงไร้ประสิทธิผลและร้อนในขณะทำงาน แม้ในขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ทรานซิสเตอร์เอาท์พุ ก็ยังคงมีกระแสไหลผ่านตัวมันตลอด กระแสที่ไหลผ่านตลอดเวลา นี้เองที่ทำให้เกิดความร้อนโดยไม่จำเป็น และสูญเสียพลังงานไป อย่างมาก เพาเวอร์แอมป์ในยุคหลังๆ จึงมักใช้วงจรคลาส-เอที่เป็นวงจรผสม
ของ Class A/Class AB เพื่อลดปัญหาความร้อน
    - Class AB เป็นการออกแบบที่ยอมให้เอาท์พุททรานซิสเตอร์ มีกระแสไหลผ่าน ขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ในระดับต่ำมากๆ จึงให้ประสิทธิผลที่มากกว่าคลาส-เอ โดยที่มีความผิดเพี้ยนต่ำและมีความน่าเชื่อถือสูง
    - Class D เป็นการใช้เอาท์พุทรานซิสเตอร์ทำงานแทนสวิตช์ เพื่อควบคุมการป้อนจ่ายกำลัง โดยทรานซิสเตอร์จะหยุดทำงานเมื่อมี แรงดันไฟปริมาณมากๆ ตกคร่อมอยู่ที่ตัวมัน วงจรครลาส-ดีจึงให้ประสิทธิผลสูงสุด การทำงานมีความร้อนต่ำสุด และให้การไหลของกระแสได้มากกว่าวงจรคลาส-เอบี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ดีจะมีความผิดเพี้ยนสูงกว่าคลาส-เอบี เนื่องจากการปิด/เปิดอย่างรวดเร็วของทรานซิสเตอร์ แต่ก็มักเกิดขึ้น ที่ย่านความถี่สูง ดังนั้นโดยปกติมักจะใช้การกรองความถี่ให้ผ่านเฉพาะ
ย่านความถี่ต่ำมาใช้งาน
    - Class T เป็นการใช้การจัดเรียงคลื่นเสียง โดยใช้ข้อเด่นของ วงจรคลาส-เอบี ผสมเข้ากับประสิทธิภาพทางกำลังที่สูงและการ ทำงานที่มีความร้อนน้อยของคลาส-ดี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ที จึงสามารถให้กำลังวัตต์ที่สูงกว่าเป็น 2-4 เท่าตัว เมื่อเทียบกัน
ในขนาดเท่ากันของเพาเวอร์แอมป์คลาส-เอบี